Motion Capture

Motion Capture   หรือเรียกสั้นๆว่า Mocap เป็นเทคโนโลยีทีใช้ในการตรวจจับการเคลื่อนไหว ถูกนำมาใช้ในการสร้างภาพยนตร์ การ์ตูนสามมิติ หรือเกมสามมิติ โดยใช้ตัวเซ็นเซอร์ติดตามร่างกายของนักแสดง เพื่ออ่านและแปรค่าความเคลื่อนไหวเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ทำให้ตัวละครสามมิติที่สร้างขึ้นสามารถแสดงท่าทางได้อย่างนุ่มเนียน สมจริง และมีความหลากหลายของอิริยาบถทั้งร่างกายและใบหน้า เรียกได้ว่าเครื่อง Mocap นี้ช่วยเติมเต็มจินตนาการของผู้สร้างงานสามมิติหรือแอนิเมชั่นต่างๆ อย่างหนังฮอลลีวู้ดหลายต่อหลายเรื่องที่ทำให้ทึ่งในความสมจริงของตัวละครแอนิเมชั่นกันมาแล้ว เช่น The Lord of the Rings, King Kong, Final Fantasy, I-Robot เป็นต้น

วิธีการถ่ายหนัง ด้วยเทคนิค motion-capture technique คือใช้กล้องหลายตัวจับภาพนักแสดงตัวเป็นๆคนจริงๆ แล้วก็ capture ภาพที่ได้ลงในโปรแกรม 3D ในคอมพิวเตอร์ ผู้กำกับกับตากล้องจะช่วยกันเลือกช็อตและการเคลื่อนกล้องที่ต้องการมาตัดต่อให้เสร็ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้น ฝ่ายที่เรียกว่า animator ก็จะออกแบบหน้าตาตัวละครและ render ภาพตัวละครกับสภาพแวดล้อมรอบข้าง ก่อนจะเอาทั้งสองส่วนมารวมกันในภาพเดียวกัน ผลที่ออกมาคือตัวละครจะแสดงเหมือนคนจริง (เพราะ capture จากคนจริง) ขณะที่โลกรอบข้างคือมหัศจรรย์ของหนังการ์ตูน เกิดหนังที่มีทั้งความสมจริงและจินตนาการในขณะเดียวกัน

องค์ประกอบในการสร้างงานแอนิเมชั่นโดยใช้เทคนิค Motion capture จะมีกล้องถ่ายการเคลื่อนไหว และนักแสดงซึ่งใส่ชุดแนบเนื้อสีเดียวกับบลูสกรีนหรือสีดำ ติด retro-reflective marker หรือ เซ็นเซอร์ ติดไว้ตามตำแหน่งต่างๆ โดยเน้นไว้ในจุดที่ต้องการจับการเคลื่อนไหว กล้องพิเศษพวกนี้ต้องใช้หลายๆ ตัว เพื่อจะได้เก็บภาพได้สมบูรณ์และได้ภาพในพื้นที่สามมิติ ซึ่งตัว marker จะเห็นเป็นลูกกลมๆ สีขาว คล้ายๆ ลูกปิงปอง กล้องจะทำหน้าที่ยิงไปที่จุดเซ็นเซอร์ หรือมาร์คเกอร์สีแดง ที่ติดอยู่ที่นักแสดงเป็นจังหวะๆ ซึ่งกล้องจะมองไม่เห็นนักแสดง จะเห็นเพียงจุดสีขาวนั้น แล้วก็จับภาพสะท้อนที่ได้จาก marker ไว้

ข้อมูลจากกล้องก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะไป match กับ skeleton ที่เป็นเหมือนโครงกระดูกของตัวละคร CG อีกทีซึ่งก็จะได้การเคลื่อนไหวที่เหมือนมนุษย์ของพวกเค้าอย่างสมจริงนั่นเอง

ส่วนเพิ่มเติม   Facial Motion Capture

วงการเกมและอนิเมชั่นในปัจจุบันยังได้ใช้เทคนิค Facial Motion Capture ด้วย (การจับความเคลื่อนไหวของใบหน้า) เพื่อการแสดงอารมณ์ที่สมจริงของตัวละคร ซึ่งใน PS2 ยังไม่สามารถนำไปใช้ได้ ต่อมาเทคนิคนี้ได้ถูกนำไปใช้ในเครื่องเกม Next-Gen PS3 XBOX360 ทำให้เราได้รู้สึกว่าตัวละครมีการแสดงสีหน้าและอารมณ์ที่สมจริงมากขึ้น คาดว่าทุกคนคงจะจำกันได้กับกอลลั่มอันโด่งดังในเรื่อง The Lord Of The Rings: Two Towers และ The Return Of The King ซึ่งผู้อยู่เบื้องหลังของความสมจริงของเจ้าสมีกอลนั้น คือ Andy Serkis ที่ทำให้ Motion Capture  โด่งดังมาก ผู้ที่จะมาเป็นนักแสดง Mocap ด้านเกม จะต้องเป็นคนที่ความสามารถในด้านการแสดง สตันท์แมนหรือนักกีฬาโดยเฉพาะ Martial Arts ซึ่งจำเป็นกับเกมแนว Action เป็นอย่าง เพราะการเคลื่อนไหวเราไม่ได้อาศัยคอมพิวเตอร์ในการสร้างอย่างเดียว เพราะการทำอนิเมชั่นด้วยมือคนจะดูไม่เป็นธรรมชาติ  เราจึงต้องอาศัยคนเหล่านี้มาเป็นส่วนในการสร้างความสมจริงให้กับเกมที่เราเล่นกันในปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์ของผู้ริเริ่ม Motion Capture  ข้อมูลจาก Motion Capture System

Eadweard Muybridge (1830 – 1904) – pioneer photographer of the moving image

ช่างภาพผู้ริเริ่มภาพเคลื่อนไหว

Étienne-Jules Marey – First person to analyze human and animal motion with video

คนแรกที่วิเคราะห์การเคลื่อนไหวของมนุษย์และสัตว์ด้วยวิดีโอ

Harold E. “Doc” Edgerton (1903-1990) -High Speed stroboscopic photography

Lee Harrison III (1960’s) – ScanimationWalt Disney – Multiplane Camera

เหตุการณ์สำคัญใน Motion capture

Waldo C. Graphic – First muppet animated by puppetry

หุ่นเคลื่อนไหวตัวแรก

Mike the Talking Head – MikedeGraf/Wahrman, Siggraph 1988

Final Fantasy The Spirits Within – First feature film to use motion capture to create realistic principle digital humans.

ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ใช้ Motion Capture เพื่อสร้างองค์ประกอบของมนุษย์ดิจิตอลอันสมจริง

Lord of the Rings, The Two Towers- First film recognized by the Motion Picture academy as the first major achievement in performance capture.

ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถูกจดจำด้วย Motion Capture academy เป็นความสำเร็จครั้งแรกของการแสดง Mocap

Polar Express – The Polar Express is the first feature film to be shot entirely in Performance Capture.

  • Motion Capture – Animaccord Animation Studio
  • 3ds Max Motion Capture

Leave a comment